เรื่องนาฬิกา ระยะที่ 2 สัปดาห์ที่ 3
ชั้นอนุบาล 3 / 1 , ปีการศึกษา 2565
เด็กๆสนใจแต่งประโยคเกี่ยวกับ “นาฬิกา”
เด็กผลัดกันออกมาเล่า ใบสืบค้นเรื่อง นอกจากนาฬิกาแล้วสามารถดูเวลาได้จากที่ไหนบ้าง
ช่วยกันยกเสาโอเบลิสก์ (จำลอง) ไปวางกลางแดดเพื่อทดลองดูเวลา
หลังจากตั้งเสาโอเบลิสก์ (จำลอง) ไว้กลางแดด เด็กๆสังเกตเงาของเสาว่าสามารถดูเวลาได้จริงหรือไม่ แล้วพูดคุยเปรียบกับการสังเกตเงาของตนเอง
เจด้าและฌารีณอาสานำเชือกออกมาวัดความยาวของเสาโอเบลิสก์(จำลอง)
เด็กสนใจนำสายวัดมาวัดความยาวของเชือกที่วัดได้จากเงาของเสโอเบลิสก์(จำลอง) แล้วจดบันทึกตัวเลขที่ได้คือ134 เซนติเมตร
หลังจากการทดลองดูเวลาด้วยเสาโอเบลิสก์(จำลอง)ในครั้งแรกเด็กๆมีความคิดว่าหากนำตัวเลขมาวางรอบๆเสาจะสามารถดูเวลาได้ชัดเจนขึ้น จึงได้กลับมาทำการทดลองอีกครั้งพร้อมกับวางตัวเลขและเปรียบเทียบกับนาฬิกาของจริง
จอร์แดน จีด้า และภูพิงค์สนใจสังเกตตัวเลขบนหน้าปัดนาฬิกาแล้วพูดคุยเปรียบเทียบกัน
เด็กๆเรียนรู้ส่วนประกอบของนาฬิกา จากนาฬิกาของจริง
สนใจแบ่งกลุ่มวาดภาพส่วนประกอบของนาฬิกา
กลุ่มของฌารีณ เนต้า เก้า และภูพิงค์ ออกมาเล่าเกี่ยวกับส่วนประกอบของนาฬิกาให้เพื่อนๆฟัง
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเด็กๆเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ ช้า-เร็ว เลียนแบบการเดินของเข็มนาฬิกา
เด็กผลัดกันออกมาแสดงบทบาทสมมติเป็นเข็มนาฬิกาแล้วให้เพื่อนๆบอกเวลาให้ถูกต้อง
สืบค้นและสังเกตส่วนประกอบของนาฬิกาจากหนังสือ และแผ่นภาพ
วิทยากร ช่างวิว ช่างไก่ และช่างนุ มาให้ความรู้เด็กๆเรื่อง “ส่วนประกอบของนาฬิกา”
จอร์แดนสงสัยและซักถามช่างเกี่ยวกับการทำงานของ “ชุดจักรวินาที”
เด็กๆทุกคนได้ลงมือแกะตัวเครื่องของนาฬิกาด้วยตนเองตามคำแนะนำของช่าง
เด็กๆแบ่งกลุ่มผลัดกันออกไปสำรวจ สังเกต ส่วนประกอบของนาฬิกาโบราณ และทดลองฟังเสียงเพลง
เด็กๆเตรียมภาพวาดเพื่อนำมาใช้ทำเป็นหน้าปัดหน้าฬิกาของตนเอง
ช่างช่วยนำหน้าปัดนาฬิกามาติดบนตัวเรือนเพื่อให้เด็กๆได้ประกอบนาฬิกาด้วยตนเอง
เด็กๆลงมือประกอบตัวเครื่อง ชุดจักรชั่วโมง ชุดจักรนาที และชุดจักรวินาที โดยมีช่างคอยให้คำแนะนำ
หลังจากประกอบเสร็จช่างได้สอนวิธีการตั้งเวลาโดยให้เด็กๆหมุนปรับเวลาด้วยตนเอง
ตัวแทนนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 มอบของที่ระลึกและการ์ดขอบคุณให้วิทยากร
เด็กๆร่วมถ่ายภาพกับวิทยากร