“นาฬิกา บอกได้มากกว่าเวลา”


“หนูอยากดูเวลาเป็น จะได้รู้ว่ากี่โมง” นั่นคือเสียงส่วนใหญ่ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ที่สนใจอยากรู้และได้ร่วมกันนำเสนอหัวข้อเรื่อง “นาฬิกา” ในกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Project Approach ซึ่งแต่ละคนได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับนาฬิกาผ่านการวาด การปั้น การเล่าเรื่อง และเกิดการตั้งคำถามในเรื่องที่แต่ละคนสงสัยและอยากรู้ สรุปได้เป็น ๖ ประเด็น ได้แก่

Project Approach เรื่องนาฬิกา “นาฬิกา บอกได้มากกว่าเวลา”
Project Approach เรื่องนาฬิกา “นาฬิกา บอกได้มากกว่าเวลา”

นาฬิกาคืออะไร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีส่วนประกอบและวัสดุอะไร มีกี่ประเภท/ชนิด มีการทำงานอย่างไร มีประโยชน์และการดูแลรักษาอย่างไร ซึ่งเด็กทุกคนได้ใช้เวลา ๖ สัปดาห์ ในการสืบค้นและแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนในทุกด้านจากครูไก่ วิวรรณ สารกิจปรีชา ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ และผู้ปกครองของเด็ก ๆ ทุกคน

เด็กทุกคนมีความกระตือรือร้น ในการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ได้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น หนังสือ พจนานุกรม Google YouTube การสอบถามจากผู้รู้ เป็นต้น และนำมาเปรียบเทียบกับคำตอบที่ได้คาดคะเนไว้ก่อน โดยเริ่มจากความหมายของนาฬิกา ที่หมายถึง เครื่องบอกเวลา มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยโบราณที่มนุษย์เริ่มดูเวลาจากตำแหน่งดวงอาทิตย์ และเริ่มคิดค้นพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถบอกเวลาได้นั่นคือ “นาฬิกา” ซึ่งมีมากมายหลากหลายชนิด เช่น นาฬิกาทราย นาฬิกาแดด นาฬิกาข้อมือ เป็นต้นเมื่อเด็ก ๆ ได้รู้ถึงความหมายและประวัติของนาฬิกาแล้ว ความสนใจอยากรู้มีมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงค้นคว้าต่อ ทำให้ได้รู้เพิ่มเติม

Project Approach เรื่องนาฬิกา “นาฬิกา บอกได้มากกว่าเวลา”
Project Approach เรื่องนาฬิกา “นาฬิกา บอกได้มากกว่าเวลา”

เกี่ยวกับประวัตินาฬิกา ของโลก โดยเริ่มจากชาวอียิปต์ได้สร้างเสาโอเบลิสก์ ซึ่งเป็นเสาหินที่ใช้ดูเวลาจากแสงแดด เด็ก ๆ ได้ทดลองออกไปสังเกตดวงอาทิตย์และเงาของตนเองที่สะท้อนลงสู่พื้นในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน และทุกคนได้นำความรู้จากการทดลองมาคุยแบ่งปันกัน เช่น ฌารีณ : หนูไปทดลองดูเวลาจากดวงอาทิตย์เหมือนคนโบราณ ตอนเช้าเงาเราจะดูยาว ๆ แล้วก็อยู่ด้านข้าง ถ้าหนูยกมือเงามันก็เป็นรูปที่หนูยกมือ แล้วก็ไปอีกครั้งตอนเที่ยง พระอาทิตย์จะอยู่ตรงกับศีรษะของเรา ถ้าเราหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์เงาของหนูมันไปอยู่ด้านหลัง แล้วพอเราหันหลังให้ดวงอาทิตย์เงามันก็จะมาอยู่ข้างหน้าแทนค่ะ เคน : คนสมัยก่อนเขาดูเวลาจากดวงอาทิตย์ ผมได้ไปทดลองสังเกตดูดวงอาทิตย์กับเพื่อน ๆ เวลาเที่ยง ดวงอาทิตย์จะอยู่ตรงกับหัวของเราพอดี แล้วเงาก็จะหยุดตรงกับตัวเราพอดี ไม่เอียงไปทางซ้ายหรือทางขวาครับ เนต้า : เนต้าอยากไปทดลองดูดวงอาทิตย์ เพราะว่าสมัยก่อนคนใช้ดวงอาทิตย์เป็นตัวบอกเวลา โดยคนอียิปต์เขาสร้างเสาหินที่ชื่อว่าเสาโอเบลิสก์ แล้วเขาก็ดูจากเงาของเสา แล้วเด็ก ๆ ได้จำลองเสาโอเบลิสก์ โดยมีครูช่วยเหลือตามที่เด็กต้องการ และนำตัวเลขวางรอบ ๆ เสา แล้วก็เรียนรู้ว่าจะต้องวางตัวเลขอะไรที่ตำแหน่งใด เด็ก ๆ เรียนรู้ด้วยว่าการดูเวลาดังกล่าวมีข้อจำกัดไม่สามารถดูได้ในเวลากลางคืน มนุษย์จึงพัฒนามาเป็นนาฬิกาน้ำและนาฬิกาทราย ที่ดูการไหลจากบนลงล่างจนหมด ซึ่งเด็ก ๆ ได้ สำรวจนาฬิกาทราย และบางคนประดิษฐ์จำลองตามความคิดของตนเอง เด็ก ๆ ยังได้สืบค้นต่อเกี่ยวกับประวัตินาฬิกาในประเทศไทย ที่สมัยโบราณใช้การตีกลองบอกเวลา ใช้กะลาลอย คือ กะลามะพร้าวเจาะรูลอยในน้ำเพื่อจับเวลา เด็ก ๆ ทำการทดลองกับกะลาเจาะรูกันจริง ๆ เพื่อเรียนรู้กันอย่างสนใจ เด็กนำนาฬิกาจากบ้านมาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง ซึ่งมีหลากหลายแบบ และครูได้จัดหามาเพิ่มด้วย และทำ Venn Diagram เปรียบเทียบนาฬิกาข้อมือกับนาฬิกาปลุก การสืบค้นเรียนรู้ ดำเนินต่อไปจากการไปทัศนศึกษาที่คลินิกบ้านนาฬิกาโบราณ ได้พบกับ อาจารย์เจษฎา เครือบุตดี ผู้เป็นเจ้าของและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์แห่งนาฬิกา ซึ่งถ่ายทอดความรู้และตอบคำถามของเด็ก ๆ ได้อย่างชัดเจน จนเด็กสามารถสรุปองค์ความรู้ของการทำงานของนาฬิกาได้ว่ามี 2 ระบบ คือ ระบบใส่ถ่าน หรือ Quartz กับระบบไขลาน และนาฬิกามีหลายประเภท เช่น นาฬิกาตั้งโต๊ะ นาฬิกาแขวนผนัง เป็นต้น มีส่วนประกอบและวัสดุหลากหลายชนิด เช่น โลหะ เหล็ก ไม้ พลาสติก เป็นต้น

ภาพปะติดจากเศษวัสดุรวมทั้งยังได้เรียนรู้วิธีการดูแลรักษานาฬิกา เช่น ต้องระมัดระวังไม่ให้ตกหล่น ไม่ให้น้ำเข้าเครื่องโดยการถอดนาฬิกาออกก่อนล้างมือ ถ้าถ่านหมดต้องรีบถอดถ่านออก เป็นต้น และคุณสมภพ ศิริเจริญวัฒน์ เจ้าของร้านมิตรบริการ และช่างไก่ ช่างนุ และช่างวิว ซึ่งเป็นช่างซ่อมนาฬิกามาเป็นวิทยากรให้ความรู้กับเด็ก ๆ เกี่ยวกับส่วนประกอบของนาฬิกา เด็กได้ทดลองแกะและแยกชิ้นส่วนของนาฬิกา ทำให้ได้รู้ว่านาฬิกามีส่วนประกอบจำนวนมาก เช่น หน้าปัด เข็มนาฬิกา สะพานไฟ แม่เหล็ก ถ่าน เป็นต้น รู้ขั้นตอนการประกอบที่ถูกต้อง เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ได้ทดลองและลงมือทำด้วยตนเองและทำงานเป็นกลุ่มร่วมกับเพื่อน เช่น ช่วยกันประดิษฐ์เสาโอเบลิสก์

Project Approach เรื่องนาฬิกา “นาฬิกา บอกได้มากกว่าเวลา”
Project Approach เรื่องนาฬิกา “นาฬิกา บอกได้มากกว่าเวลา”

จำลองและทดลอง นำไปตั้งกลางแดดเพื่อสังเกตเงาที่ทอดลงไปบนพื้นในช่วงเวลาต่าง ๆ เปรียบเทียบกับเวลาจริงตามนาฬิกา ได้ทดลองกะลาลอยที่ใช้จับเวลาในการชนไก่ในสมัยก่อน และแต่ละคนได้ประดิษฐ์นาฬิกาจำลองและใช้ฝึกอ่านเวลาตามเข็มนาฬิกาอย่างถูกต้อง คือ ต้องอ่านเข็มสั้นที่บอกเวลาชั่วโมง และเข็มยาวที่บอกเวลานาที ได้เสริมสร้างจินตนาการความคิดสร้างสรรค์และใช้ทักษะการอ่านเขียนของเด็ก ๆ ด้วยการแต่งและเล่านิทานเกี่ยวกับนาฬิกา เช่น เรื่องร้านนาฬิกาหรรษา ของกลุ่มน้องจอร์แดน น้องเก้า และน้องจีด้า เรื่องของขวัญของหนูดี ของกลุ่มน้องริสา น้องฌารีณ น้องเนต้า เป็นต้น

ช่วยกันแต่งเพลง “นาฬิกา” และออกแบบท่าเต้นประกอบเพลง แต่ละคนได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของตนเองจากการได้พบเห็นนาฬิกาแบบ ชนิด และรูปทรงต่าง ๆ เช่น นาฬิกา Kitty สีเหลืองของน้องมิลิน นาฬิกาของน้องธีทัต ที่มีรูปแม่กับน้องธีทัตกำลังขี่ช้างอยู่ด้านใน เป็นต้น และได้แลกเปลี่ยนวิธีการดูเวลาจากแหล่งอื่น ๆ นอกเหนือจากนาฬิกาจากประสบการณ์ของแต่ละคน เช่น ดูโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ รีโมทแอร์ หรือฟังจากวิทยุ เป็นต้น

Project Approach เรื่องนาฬิกา “นาฬิกา บอกได้มากกว่าเวลา”
Project Approach เรื่องนาฬิกา “นาฬิกา บอกได้มากกว่าเวลา”

หลังจากเด็ก ๆ ได้เรียนรู้อย่างลึกซึ้งในสิ่งที่สนใจ จนเกิดเป็นองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ตกผลึกในตัวเด็ก เมื่อถึงเวลาต้องนำเสนอผลงานให้ผู้ปกครองและผู้สนใจ เด็กทุกคนได้ร่วมคิดและวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน โดยเริ่มตั้งแต่การออกแบบและตกแต่งบัตรเชิญร่วมงาน จำลองเคาน์เตอร์คลินิก จำลองนาฬิกาประเภทต่าง ๆ และกำหนดราคาขาย เล่นบทบาทสมมติขายนาฬิกา เรียนรู้คณิตศาสตร์ไปด้วย เด็กทุกคนพร้อมจะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ผู้ปกครองผ่านบทบาทของช่างนาฬิกา จากร้าน “คลินิกบ้านนาฬิกา อ.3/1” ผู้ปกครองเข้าชมนิทรรศการและให้ความสนใจ ชื่นชมความสามารถเรียนรู้อย่างลุ่มลึกและเป็นรูปธรรมของเด็ก ๆ ทำให้เด็ก ๆ รู้สึกภาคภูมิใจในตนเองเป็นอย่างมาก

โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่

3810 ถนนพระราม 4 , แขวงคลองตัน เขตคลองเตย, กรุงเทพ, 10110

โทรศัพท์: (0) 2 249-0081-3
แฟกซ์: (0) 2 249-4001

ติดตามเราได้ที่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

เส้นทาง

แผนที่โรงเรียน : คลิกดูแผนที่

นโยบายความเป็นส่วนตัว

เยี่ยมชมเว็บไซต์

เว็บไซต์
© 2024 โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่
SEO Services Supplied by Bangkok Digital Services