ปริศนาโครงกระดูก


สิ่งที่อยู่ในร่างกายของเราและเป็นสิ่งสำคัญ คือ “กระดูก” การศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับกระดูกเหมือนจะไม่ใช่เรื่องสนุกหรือน่าตื่นเต้นสำหรับเด็กทั่วไป แต่สำหรับเด็กอนุบาล 2/1 โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ กระดูก คือ สิ่งที่เด็กสนใจและอยากเรียนรู้ โดยใช้การเรียนรู้แบบ Project Approach มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างลุ่มลึกเป็นเวลา 7 สัปดาห์ โดยมีครูเป็นผู้สนับสนุน ช่วยอำนวยความสะดวกทุก ๆ ด้านให้กับเด็ก จัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะ และคณิตศาสตร์ หรือที่เรียกว่า STEAM พร้อมทั้งสนับสนุนสื่อที่ทันสมัยและเอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น Bee Bot ตู้ไฟ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ช่วยกันไขปริศนาโครงกระดูกด้วยตนเอง เกิดทักษะการเรียนรู้ ทักษะคิด เกิดเป็นองค์ความรู้และประสบการณ์ตรงกับตัว

Project Approach เรื่อง กระดูก ปริศนาโครงกระดูก Project Approach เรื่อง กระดูก ปริศนาโครงกระดูก
Project Approach เรื่อง กระดูก ปริศนาโครงกระดูก Project Approach เรื่อง กระดูก ปริศนาโครงกระดูก Project Approach เรื่อง กระดูก ปริศนาโครงกระดูก

การไขปริศนาของเด็ก ๆ เริ่มต้นในสัปดาห์ที่ 1 ของกิจกรรม Project Approach ซึ่งเป็นระยะเริ่มต้น เด็กทุกคนได้เสนอหัวข้อเรื่องที่ตนสนใจอยากรู้พร้อมเหตุผลประกอบ เช่น “อยากเรียนเรื่องกระดูกเพราะเคยเห็นกระดูกในถ้ำ” “อยากเรียนเรื่องนักร้องเพราะหนูอยากเป็นนักร้องและ...ได้ออกทีวี” เป็นต้น แต่เมื่อทุกคนได้ระดมความคิดร่วมกันและลงคะแนนเลือกหัวข้อเรื่องตามแนวทางประชาธิปไตย เรื่องที่ได้คะแนนมากที่สุด คือ กระดูก จำนวน 6 คะแนน รองลงมา คือ เทียน นักร้อง พิมพ์ขนม กระติกน้ำ กรอบรูป ตามลำดับ เด็ก ๆ ช่วยกันสรุปผลและตกลงที่จะเรียนรู้เรื่องกระดูกร่วมกัน หลังจากได้หัวเรื่องแล้วครูเปิดโอกาสให้เด็กได้ถ่ายทอดประสบการณ์เดิมของแต่ละคนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การเล่า การวาด การประดิษฐ์ การปั้น เป็นต้น โดยส่วนใหญ่เด็กจะมีประสบการณ์เกี่ยวกับกระดูกจากเทศกาลวันฮาโลวีน และช่วยกันระดมความคิดในสิ่งที่แต่ละคนอยากรู้เกี่ยวกับกระดูก สรุปร่วมกันได้ 6 ประเด็น ได้แก่ กระดูกคืออะไร มีลักษณะอย่างไรและเชื่อมต่อกันได้อย่างไร ใครมีกระดูกบ้างและมีกี่ชิ้น กระดูกมีกี่ชนิดและสัตว์มีกระดูกหรือไม่ กระดูกกินได้หรือไม่และมีอะไรอยู่ในกระดูก และกระดูกมีประโยชน์อย่างไร หลังจากได้ประเด็นแล้วเด็ก ๆ ได้เสนอวิธีการสืบค้นหาข้อมูล เช่น สอบถามจากผู้ปกครอง พยาบาล หมอกระดูก อินเทอร์เน็ต Google ดูหนังสือ สารคดี เป็นต้น

ในสัปดาห์ที่ 2 – 6 เป็นระยะการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ เด็กๆ เริ่มลงมือไขปริศนาของกระดูก โดยแต่ละคนได้ตั้งสมมติฐานว่ากระดูกคืออะไร เช่น “กระดูกมันอยู่ในร่างกายเรา มีมาตั้งแต่เกิด มันแข็ง มันต่อกันอยู่ในร่างกาย ขยับได้ มันอยู่ในร่างกายของคนและสัตว์” เป็นต้น หลังจากได้ลองสำรวจร่างกายของตนเองสามารถบอกเล่าได้ว่ามีกระดูกอยู่ตรงไหนบ้าง เช่น “กระดูกหัวชิ้นใหญ่ที่สุด กระดูกที่เท้า มือมี 5 นิ้ว กระดูกนิ้วมือยาวกว่ากระดูกนิ้วเท้า กระดูกหัวไหล่มี 2 ข้าง” เป็นต้น แล้วเด็ก ๆ ได้ช่วยกันค้นหาข้อมูลจากพจนานุกรม หนังสือเกี่ยวกับกระดูก สำรวจโครงกระดูกจำลอง และสรุปร่วมกันจนได้ความหมายของกระดูก หลังจากนั้นเด็ก ๆ ค้นหาปริศนาต่อไปว่ากระดูกมีลักษณะอย่างไรและเชื่อมต่อกันได้อย่างไร โดยสำรวจกระดูกจริงของสัตว์หลายชนิด และศึกษาจากยูทูบ จนสามารถบอกได้ถึงลักษณะของกระดูกและเปรียบเทียบความแตกต่างของกระดูกคนกับสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น “กระดูกหัวของคนเป็นรูปวงกลมและแข็งเหมือนก้อนหิน ปลาก็มีกระดูกเป็นก้างแหลม ๆ เหมือนหวีที่หวีผมเป็นซี่ ๆกระดูกงูมันแหลม ๆ และยาว ๆ กระดูกมันเยอะ กระดูกไก่มันแข็งเหมือนกับกระดูกหมู” เป็นต้น

Project Approach เรื่อง กระดูก ปริศนาโครงกระดูก Project Approach เรื่อง กระดูก ปริศนาโครงกระดูก
Project Approach เรื่อง กระดูก ปริศนาโครงกระดูก Project Approach เรื่อง กระดูก ปริศนาโครงกระดูก

และอธิบายการเชื่อมต่อกันของกระดูกได้ เช่น “กล้ามเนื้อตรงไหล่ช่วยยึดกระดูกโคนแขนให้หมุนไปข้างหน้าข้างหลังได้ และมีข้อต่อและเส้นเอ็นช่วยยึดกระดูก กล้ามเนื้อแขนช่วยยึดให้แขนท่อนบนและท่อนล่างติดกันเหมือนกับข้อต่อและเส้นเอ็น ทำให้แขนแกว่งได้ งอได้” เป็นต้น พร้อมถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ ปริศนาต่อไปที่เด็ก ๆ ช่วยกันไข คือ ใครมีกระดูกบ้างและมีกี่ชิ้น โดยเด็ก ๆ ช่วยกันค้นหาข้อมูลและสรุปร่วมกันจนได้คำตอบ เช่น “คนและสัตว์มีกระดูก แต่สัตว์บางชนิดไม่มีกระดูก มันเคลื่อนไหวได้เพราะมันใช้ลำตัว กระดูกสิงโตแนวนอน กระดูกคนแนวตั้ง” เป็นต้น สรุปร่วมกันได้ว่า ร่างกายของคนเราในเด็กแรกเกิดจะมีกระดูกมากถึง 350 ชิ้น เมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่กระดูกบางส่วนจะต่อกันสองหรือสามชิ้น จะค่อย ๆ รวมตัวกันเป็นชิ้นเดียว เหลือเพียง 206 ชิ้น

และเด็ก ๆ ได้โอกาสเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ คุณกรรณณัฐ สินทร เจ้าหน้าที่แผนกเอกซเรย์ โรงพยาบาลสุขุมวิท นำสื่อการสอนและฟิล์มเอกซเรย์กระดูกของมนุษย์ และแผ่นต่อภาพกระดูกของมนุษย์มาให้เด็ก ๆ ได้ต่อภาพกัน ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกระดูกของมนุษย์ว่าแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ กระดูกแกนกลางและกระดูกรยางค์ และได้สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือและอินเทอร์เน็ตจนสามารถบอกได้ว่า “กระดูกแกนกลางอยู่ข้างใน ส่วนที่ยื่นออกมา คือ กระดูกรยางค์...” แต่ความสงสัยของเด็ก ๆ ยังขยายต่อไปอีกหลายเรื่อง จึงค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมและช่วยกันสรุปความรู้ เช่น เรื่องของสัตว์มีกระดูกหรือไม่มีกระดูก เรื่องสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นต้น ซึ่งเด็ก ๆ ได้เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของสัตว์หลากหลายชนิด สรุปเป็นความรู้ร่วมกันได้ เช่น “ม้าน้ำมีกระดูกสันหลังเหมือนกับงูเพราะว่ามันยาวเหมือนกัน” “นกมีกระดูกเหมือนไก่เพราะมันมีปีกเหมือนกัน” “ปะการังเป็นสัตว์อยู่ในน้ำทะเลลึก ๆ และหอยก็ไม่มีกระดูกสันหลัง” เป็นต้น

Project Approach เรื่อง กระดูก ปริศนาโครงกระดูก Project Approach เรื่อง กระดูก ปริศนาโครงกระดูก Project Approach เรื่อง กระดูก ปริศนาโครงกระดูก

และคุณสุชาดา ผู้ปกครองของน้องอัญญ่า ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรอธิบายเกี่ยวกับกระดูก พร้อมทั้งมีแบบจำลองกระดูกส่วนต่าง ๆ ที่มีขนาดและรูปร่างเท่ากับของคนจริงให้เด็ก ๆ ได้สำรวจ เล่น และสัมผัส สอนวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อพบผู้ป่วยกระดูกส่วนต่าง ๆ หัก และให้เด็ก ๆ ได้เล่นบทบาทสมมติเป็นคนเจ็บและช่วยปฐมพยาบาลกันอย่าง

Project Approach เรื่อง กระดูก ปริศนาโครงกระดูก
Project Approach เรื่อง กระดูก ปริศนาโครงกระดูก Project Approach เรื่อง กระดูก ปริศนาโครงกระดูก

สนุกสนาน และเพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้จากของจริงมากยิ่งขึ้น ครูได้พาเด็ก ๆ ไปทัศนศึกษาที่พิพิธภัณฑสถานวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สำรวจกระดูกของคนและสัตว์ทั้งของจริงและของจำลอง ได้รับความรู้และตั้งคำถามในสิ่งที่สงสัยกับวิทยากร และนำมาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ในการสืบค้นเพื่อไขปริศนาเรื่อง กระดูกกินได้หรือไม่และมีอะไรอยู่ในกระดูก เด็ก ๆ ได้ช่วยกันตั้งสมมติฐานอย่างมีเหตุผล เช่น “คนกินกระดูกไม่ได้เพราะว่ามันแข็งมันจะติดคอ” “หมากินกระดูกได้เพราะหมามีฟันที่แข็งแรง” และได้ทดลองพิสูจน์ด้วยตนเองกับอาหารที่มีกระดูก เช่น ปีก / น่องไก่ทอด หูหมูย่าง / ต้ม ปลาตัวเล็กทอด เป็นต้น ทดลองต้มกระดูกเพื่อสังเกตดูภายในกระดูก และค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจนสามารถบอกได้ว่ามีอะไรอยู่ในกระดูก เช่น “ในกระดูกมีน้ำ มีเลือด มีไขกระดูก” เป็นต้น

ในสัปดาห์ที่ 7 ซึ่งเป็นสัปดาห์สุดท้ายของกิจกรรม เป็นระยะสรุป เด็ก ๆ ได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาตลอดระยะเวลา 5 สัปดาห์ มาสรุปเป็นข้อมูลร่วมกันเพื่อไขปริศนาข้อสุดท้าย เรื่องประโยชน์ของกระดูกและวิธีการดูแลรักษากระดูก เช่น “ประโยชน์ คือ สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว ป้องกันอวัยวะภายในไม่ให้กระทบกระเทือน รองรับและพยุงร่างกาย ทำให้เคลื่อนไหวได้... มีวิธีการดูแล คือ รับประทานอาหารแคลเซียมสูง วิตามินจะช่วยดูดซึมแคลเซียม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก...” เป็นต้น และสุดท้ายของกิจกรรมเด็ก ๆ ได้ช่วยกันออกแบบ จัดทำผลงานและนำมาตกแต่งห้องเรียน พร้อมของที่ระลึก เตรียมต้อนรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้ที่สนใจ ให้เข้ามาร่วมไขปริศนาโครงกระดูกกับเด็ก ๆ แล้วจะเข้าใจว่าทำไม “กระดูก”จึงสำคัญ

Project Approach เรื่อง กระดูก ปริศนาโครงกระดูก Project Approach เรื่อง กระดูก ปริศนาโครงกระดูก Project Approach เรื่อง กระดูก ปริศนาโครงกระดูก

โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่

3810 ถนนพระราม 4 , แขวงคลองตัน เขตคลองเตย, กรุงเทพ, 10110

โทรศัพท์: (0) 2 249-0081-3
แฟกซ์: (0) 2 249-4001

ติดตามเราได้ที่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

เส้นทาง

แผนที่โรงเรียน : คลิกดูแผนที่

นโยบายความเป็นส่วนตัว

เยี่ยมชมเว็บไซต์

เว็บไซต์
© 2024 โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่
SEO Services Supplied by Bangkok Digital Services