หน่วย วัสดุ ชั้นอนุบาลปีที่ 3
ปีการศึกษา 2567
เด็ก ๆ สืบค้นวัสดุต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรามีอะไรบ้าง
เด็ก ๆ ออกไปสำรวจวัสดุต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณรอบ ๆ โรงเรียน
เด็กได้หยิบสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในห้องมาคนละ 1-2 ชิ้นและออกมาสำรวจว่าทำมาจากวัสดุใด
เด็กผลัดกันออกมาแยกประเภทของวัสดุชนิดต่าง ๆ เช่น ผ้า ไม้ พลาสติก ใยสังเคราะห์ โลหะ กระดาษ เป็นต้น
สืบค้นที่มาของวัสดุต่าง ๆ จากหนังสือ
กลุ่มเลือกเล่นของเล่นประเภทไม้แล้วบอกได้ว่าทำมาจากไม้และมีน้ำหนัก
เด็ก ๆ สำรวจวัสดุที่ลูกหมูนำมาสร้างบ้าน เช่น ฟาง ไม้ อิฐ
เด็ก ๆ ฟังนิทานเรื่อง ลูกหมู 3 ตัว และร่วมพูดคุยถึงวัสดุที่ลูกหมูใช้ในการสร้างบ้าน
สำรวจวัสดุชนิดต่าง ๆ เพิ่มเติมพูดคุยถึงคุณสมบัติของวัสดุว่าเป็นอย่างไร มาจากไหน เป็นวัสดุจากธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น
เด็ก ๆ ออกมาพิจารณาว่ามีอะไรบ้างเป็นวัสดุจากธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น แล้วนับจำนวนชิ้น
เด็ก ๆ เล่นเกม “อะไรเอ่ย” ได้อธิบายบอกลักษณะที่สัมผัส ลูบคลำ ให้เพื่อนทาย
เพื่อน ๆ ช่วยกันทายว่าสิ่งที่อยู่ในกล่องคืออะไร
เด็ก ๆ ได้สำรวจ สัมผัสผ้าชนิดต่างๆ บอกลักษณะที่สังเกตได้และบอกความรู้สึกจากการลูบคลำ
สำรวจเสื้อผ้าเพิ่มเติมจากสิ่งที่คุณครูจัดเตรียมไว้ให้
เด็ก ๆ นำวัสดุมาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง พูดคุยถึงวัสดุที่กันน้ำได้
ทดลองฉีดน้ำใส่เสื้อกันฝนและร่ม สังเกต เปรียบเทียบและบอกความแตกต่างของวัสดุแต่ละชนิดเมื่อโดนน้ำ
ร่วมทดลองฉีดน้ำใส่กระดาษ และกระดาษที่เคลือบพลาสติก สังเกต เปรียบเทียบและบอกความแตกต่างของวัสดุเมื่อถูกน้ำ
เด็ก ๆ ทดลองเหตุการณ์อยู่ในฝนและใช้วัตถุที่กันน้ำได้ที่ทำด้วยวัสดุจากพลาสติก เช่น ร่ม เสื้อกันฝนและเสื้อจากถุงพลาสติกที่ทำขึ้นเอง
เด็ก ๆ ใส่ชุดกันฝน กางร่มมาร่วมเล่นสถานการณ์จริง เมื่ออยู่ในฝนกันอย่างสนุกสนาน
ทดลองการซึมซับโดยใช้พู่กัน สีน้ำและกระดาษแข็ง พูดคุยและสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
ร่วมทดลองการซึมซับน้ำ โดยใช้วัสดุต่าง ๆ นำมาทดลองและแยกวัสดุซึมซับน้ำและไม่ซึมซับน้ำ
ผลงานสร้างเต็นท์จากวัสดุที่ทำมาจากแกนกระดาษ โต๊ะเก้าอี้ และผ้าของกลุ่ม ญาญ่า แพรไหม กุนต์ เวย์ มิตตะ และเรย์
เด็ก ๆ นำใบสืบค้นเกี่ยวกับวัสดุที่มีในห้องนอนที่บ้านของเด็ก ๆ มาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง
เด็ก ๆ ได้สำรวจวัสดุต่าง ๆ ที่มีในห้องนำมาพิจารณาว่าวัสดุอะไรจะลอยหรือจะจมโดยเด็ก ๆ ได้คาดคะเนกันก่อน
นำวัสดุที่คิดว่าจะจมมาทดลอง สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นและเปรียบเทียบกับที่คาดคะเนไว้ว่าเป็นจริงหรือไม่
ทดลองลอย จมและสำรวจสิ่งที่จม-ลอยว่ามีอะไรบ้างและเลือกหยิบออกมาแยกคนละโต๊ะ
นำจุกก๊อกไม้และก้อนหิน มาทดลองชั่งน้ำหนักด้วยตาชั่งเปรียบเทียบหนัก-เบา และคาดคะเนอะไรที่ลอยและอะไรจมน้ำ
ทดลองปล่อยก้อนหินและจุกก๊อกไม้พร้อมกันสังเกตเปรียบเทียบสิ่งที่ลอยกับสิ่งที่จม
ก่อนการทดลองปั้นเรือดินน้ำมันเด็ก ๆ ได้นำดินน้ำมันที่ปั้นเป็นก้อนกลมมาชั่งน้ำหนัก สังเกตและเปรียบเทียบกัน
เด็ก ๆ ปั้นดินน้ำมันที่ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ใส่ลงน้ำสังเกตว่าลอยหรือจม
ทดลองปั้นกลม ๆ เจาะดินน้ำมันเป็นรูก็จม
เด็ก ๆ ได้นำดินน้ำมันมาแผ่ให้เป็นเรือ ให้ลอยอยู่ในน้ำได้และนำคลิปมาวางใส่จนกระทั่งเรือจมและนับจำนวนว่าบรรทุกได้มากน้อยเปรียบเทียบกับของเพื่อน ๆ
สังเกตการลอย การจมของผลไม้
สำรวจกระดาษที่ใช้ทำว่าว จับสัมผัสแล้วบอกได้ว่ามีน้ำหนักเบาสามารถใช้ทำว่าวแล้วจะลอยได้
เด็ก ๆ ได้สำรวจ สัมผัสและสังเกตถุงชนิดต่าง ๆ เปรียบเทียบขนาดและความคงทนความแข็งแรง
ร่วมจัดเรียงลำดับความกว้างของก้นถุง
เด็ก ๆ ได้ร่วมจัดเรียงลำดับความสูงของถุงไปหาเตี้ย
เด็ก ๆ ได้ทดลองหยดสีลงไปเพื่อให้ได้กระดาษสาที่มีสีและใช้ตะแกรงร่อนเยื่อกระดาษ
เด็ก ๆ นำวัสดุมาจัดวางเพื่อความสวยงาม แล้วหยดสีเพื่อให้เกิดลวดลาย ก่อนนำไปตากแดด
ผลงานการตกแต่งด้วยวัสดุต่าง ๆ และนำไปตากแดด
เด็กวัดขนาด เปรียบเทียบและช่วยกันยกกระดาษขึ้นชั่งน้ำหนัก สังเกตน้ำหนัก 1 รีมกับ 2 รีม
เด็กได้เรียนรู้ขนาดของกระดาษขนาดใหญ่ที่สุด A0
พับกระดาษ A1 มาพับครึ่งต่ออีกได้เป็นขนาด A2
ปรับเปลี่ยนรูปแบบหาทิศทางเพื่อให้การยึดติดมั่นคงเกิดรูปร่างที่ต้องการ
ครูแบ่งกลุ่มแจกกระดาษลังให้ช่วยกันต่อกัน ทำอย่างไรให้สูงขึ้น
เด็กสำรวจ สัมผัสโลหะที่มีในห้องเรียนว่ามีอะไรบ้างและบอกลักษณะของโลหะ
สำรวจวัตถุที่ทำมาจากวัสดุประเภทสแตนเลส เช่น รถเข็นอาหาร กะละมัง ถาดหลุม จับสัมผัสบอกความรู้สึก เป็นต้น
เด็ก ๆ ได้ฝนสีของเล่นที่เป็นโลหะ สังเกตลายที่เกิดขึ้น
เทน้ำเปล่าและน้ำโค้กเพิ่มปริมาณหาวิธีไม่ให้น้ำหกออกมานอกขวด
ทดลองนำโลหะลงในน้ำเปล่าและน้ำอัดลมทิ้งไว้ระยะหนึ่งและสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
เด็ก ๆ ร่วมกันทดลองการดูดของแม่เหล็ก ว่าแม่เหล็กสามารถดูดอะไรได้บ้างและอะไรที่แม่เหล็กดูดไม่ได้
เด็กทดลองการดูดของแม่เหล็ก แม่เหล็กดูดอะไรได้บ้างและอะไรที่แม่เหล็กดูดไม่ได้และนำไปแยกประเภทตามป้ายกำกับไว้
เด็ก ๆ ทดลองกลิ้งเหรียญขนาดต่าง ๆ เรียนรู้ว่าสิ่งที่กลมจะสามารถกลิ้งได้ ถึงแม้ว่าจะมีลักษณะแบน
เด็ก ๆ กำลังทดลองนำแม่เหล็กดูดเหรียญที่เป็นโลหะ สังเกตแม่เหล็กดูดเหรียญชนิดใดได้
เด็กสำรวจ สังเกต สัมผัสเม็ดพลาสติก เพื่อเรียนรู้ที่มาของพลาสติกเอามาทำสิ่งของต่าง ๆ ได้
เด็ก ๆ ร่วมสำรวจในห้องเรียนว่ามีอะไรบ้างที่ทำมาจากพลาสติก
เด็ก ๆ นำพลาสติกไปทดลองต้ม สังเกตเห็นพลาสติกบางชนิดเมื่อถูกความร้อนจะเปลี่ยนรูปร่างทันที
หลังจากทดลองต้มและพักทิ้งไว้ เด็ก ๆ สำรวจสังเกตรูปร่าง รูปทรงที่เปลี่ยนไปหรือไม่เปลี่ยนไปและพูดคุยเปรียบเทียบ
เด็ก ๆ สำรวจถังขยะและผลัดกันนำขยะมาแยกตามประเภทของถังขยะได้อย่างถูกต้อง
เด็ก ๆ นำถุงผ้ามาพิจารณาว่าถุงผ้าของใครสามารถจุของได้มาก น้อยกว่ากัน
ถุงผ้าของพวกเราใส่สิ่งของและขนมได้
ผลงานการประดิษฐ์ถุงผ้าของ พิภู มิรา พาดา พรีม รัน และปุณณ์