หน่วย สิ่งมีชีวิต ชั้นอนุบาลปีที่ 3
ปีการศึกษา 2567
ผลัดกันออกมาเล่าเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต
เด็กพิจารณาภาพว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
เด็ก ๆ ออกมาเลือกภาพเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตมาคนละ 2 ภาพ พิจารณาสังเกตภาพและเล่าเรื่องว่าเป็นภาพอะไรมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
จากนั้นเด็ก ๆ ได้ช่วยกันแยกประเภทอะไรเป็นสิ่งมีชีวิตอะไรเป็นสิ่งไม่มีชีวิต
เด็กอาสาออกมาสรุปว่ามีอะไรบ้างที่เป็นสิ่งมีชีวิตและ อะไรบ้างที่ไม่มีชีวิตและเพื่อน ๆ ร่วมตรวจสอบและนับจำนวน
เด็ก ๆ สำรวจ สังเกตสิ่งมีชีวิต เช่น พืช ต้นไม้ และสัตว์บางชนิดบริเวณโรงเรียน
เด็ก ๆ ผลัดกันออกมา Check list ทำเครื่องหมายลงในช่องว่าสิ่งมีชีวิตทำอะไรได้หรือทำอะไรไม่ได้บ้าง
โพสต์ เมอร์ลินและปริม ร่วมสรุปสิ่งมีชีวิตทำอะไรได้บ้างและเปรียบเทียบสิ่งไม่มีชีวิตทำอะไรไม่ได้บ้างให้เพื่อน ๆ ฟัง
กิจกรรม Sensory Play
กิจกรรม Sensory Play
มิรา รัน ปุณณ์ และพิภู นำใบไม้ ดอกไม้จากที่บ้านมาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง
สำรวจต้นไม้ในโรงเรียน สังเกตขนาดของลำต้น ลูบคลำ จับสัมผัสพื้นผิว เปรียบเทียบ เรียบหรือขรุขระ
สืบค้นต้นไม้จากหนังสือ
เด็กช่วยกันวาดภาพส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้มีอะไรบ้าง ระบายสีและเขียนชื่อกำกับ
ร่วมกันบอกหน้าที่ส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ว่าทำอะไรบ้าง
เด็ก ๆ สังเกตสิ่งมีชีวิต เช่น หนอนตัวเล็กที่มากับต้นไม้ ใบไม้
เด็กสำรวจต้นพืชที่จะนำไปทดลองการดูดน้ำของพืช การลำเลียงสารอาหารของพืชว่าต้นไม้มีชีวิตต้องการน้ำและได้รับสารอาหารจากทางราก
หยดสีผสมอาหารลงในแก้วน้ำ
จากนั้นนำพืช ต้นกระสัง ผักกาดขาวและดอกไม้ ใส่ลงในขวดน้ำสีต่าง ๆ ให้เด็กสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
หลังการทดลองผ่านไปช่วงเวลาหนึ่ง เด็กได้มาสังเกตอีกครั้ง สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นและร่วมพูดคุยก่อนและหลังการทดลองเปรียบเทียบกัน
เด็ก ๆ ผลัดกันออกมาเล่าเกี่ยวกับสัตว์ที่ตนเองรู้จักให้เพื่อน ๆ ฟัง
เด็กร่วมสำรวจสัตว์จำลอง พิจารณาลักษณะ รูปร่าง จำนวนขาสัตว์ ก่อนนำไปแยกประเภทต่าง ๆ
เด็กผลัดกันนำสัตว์จำลองออกมาวางจำแนกประเภท ได้แก่ สัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน แมลง เป็นต้น
เด็กแยกประเภทสัตว์ที่มีขา เช่น 2 ขา 4 ขา 6 ขา 8 ขา ไม่มีขา และร่วมกันพิจารณา
เด็ก ๆ ร่วมกันจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์บนถาด
เด็ก ๆ นำสัตว์จำลองมาวางบนเครื่องฉายแสง สังเกตลักษณะ รูปร่าง เงาของสัตว์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เด็ก ๆ วาดภาพบนแผ่นใสก่อนจะนำไปวางบนเครื่องฉายแสง สังเกตรูปร่างของสัตว์
เด็ก ๆ ออกมาสำรวจ จับ สัมผัส อาหารต่าง ๆ
หมู่ที่ 2 คาร์โบไฮเดรต (ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน)
หมู่ที่ 3 ผัก มีผักชนิดต่าง ๆ ที่ให้สารอาหารเกลือแร่
หมู่ที่ 4 วิตามิน (ผลไม้)
หมู่ที่ 5 ไขมัน (จากพืช และ สัตว์)
เด็กผลัดกันออกมานำอาหารดิบประเภท “โปรตีน” ที่เป็นเนื้อสัตว์และไข่ต้มในน้ำที่เดือดแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
หลังจากต้มสุกแล้ว เด็ก ๆ ได้สำรวจเปรียบเทียบ ดิบ สุกของเนื้อสัตว์
เด็ก ๆ สำรวจเครื่องมือและเครื่องปรุงสำหรับนำมาประกอบอาหาร “สุกี้ยากี้”
เด็กร่วมกิจกรรมประกอบอาหาร ฝึกการใช้มีดในการหั่นเนื้อสัตว์ ครูดูแลอย่างใกล้ชิด
เด็กร่วมใส่เครื่องปรุง เช่น ซอส ก่อนจะนำประเภทเนื้อสัตว์ใส่ตาม
เด็ก ๆ ผลัดกันออกมาใส่เนื้อสัตว์ ผักที่เตรียมเอาไว้
สุกี้ยากี้ของพวกเราพร้อมรับประทานกันแล้ว
เด็ก ๆ ได้รับประทานสุกี้หลังจากที่ได้ช่วยกันทำเสร็จ
เด็ก ๆ ได้สำรวจอาหารชนิดต่างๆ มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์
จากนั้นนำมาแยกประะเภทอาหารมีประโยชน์และไม่มีประโยชน์
กุนต์อาสาออกมาเป็นแบบให้เพื่อนวาดภาพโครงร่างส่วนประกอบของร่างกาย
ช่วยกันคิดระบายสีตกแต่งก่อนตัดชิ้นส่วน ส่วนใดสามารถพับงอได้
เด็กแบ่งกลุ่มออกมาช่วยกันต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแล้วบอกได้ว่ามีส่วนใดบ้างที่พับงอได้ เช่น นิ้วมือ แขน ขา ศีรษะ เป็นต้น
สำรวจโครงร่างกายภายในของคนมีอะไรบ้างและร่วมกันประกอบชิ้นส่วน
สนใจหาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือเกี่ยวกับอวัยวะภายในของคนแล้วพูดคุยถึงหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ
เด็ก ๆ ร่วมกิจกรรมฐานดู สังเกตสิ่งของต่าง ๆ สังเกตการเล่นจับคู่ภาพที่เหมือนกันและการส่องเห็นภาพซ้อน
“ฐานจับสัมผัส” เด็กผลัดกันเวียนเข้าฐานจับสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ ที่มี ผิวขรุขระ ผิวเรียบ ผิวลื่น ผิวแข็ง ผิวนิ่ม แล้วพูดคุยเปรียบเทียบว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
“ฐานฟังเสียง” เด็กผลัดกันเวียนเข้าฐานแล้วทดลองเล่นเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ แล้วบอกได้ว่าชิ้นไหนมีเสียงดังกว่าแล้วแยกประเภทของเสียงที่ได้ยิน
เด็กร่วมชิมรสอาหาร น้ำผึ้ง เกลือ น้ำตาล ผลไม้และต่าง ๆ บอกรสชาติ
“ฐานดมกลิ่ม” เด็กผลัดกันเวียนเข้าฐานมาดมกลิ่นสิ่งที่อยู่ในกรวยกระดาษแล้วทายว่ามีอะไรอยู่ในกรวยกระดาษบ้าง เช่น ตะไคร้ มะนาว ดอกมะลิ และ ดอกกุหลาบ แล้วบอกได้ว่ามี กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น กลิ่นฉุน เป็นต้น
เด็ก ๆ นำภาพถ่าย เมื่อครั้งยังเป็นเด็กมาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง
เด็ก ๆ ผลัดกันออกมาสำรวจรูปภาพเพื่อนและทายว่าเป็นรูปของใคร แล้วพูดคุยเปรียบเทียบกับปัจจุบัน
ครูอ่านหนังสือ เรื่อง มหัศจรรย์วันของหนู ให้เด็ก ๆ ฟัง
เด็ก ๆ เขียนชื่อตนเองแล้วนำไปติดในช่องเดือนเกิดบนตารางบันทึก
ร่วมบันทึกน้ำหนักแรกเกิดเปรียบเทียบกับน้ำหนักปัจจุบัน
เด็ก ๆ สรุปและเปรียบเทียบกันว่าตอนแรกเกิด หนักหรือเบากว่าปัจจุบันกี่กิโลกรัม และใครหนักมากที่สุดและน้อยที่สุด
เด็ก ๆ ได้เลือกภาพบุคคลที่แสดงอารมณ์ต่าง ๆ คนละ 1 ภาพและคาดคะเนว่ากำลังรู้สึกอย่างไร
เด็ก ๆ ออกมาทำท่าทางใบหน้าอารมณ์ต่าง ๆ ฟูกุบันทึกภาพให้ด้วยกล้องดิจิทัล
นำภาพใบหน้าอารมณ์ต่าง ๆ มาแยกประเภท
เด็ก ๆ สนใจส่องกระจกแล้วทำท่าทางตามภาพอารมณ์ที่สนใจ
เด็กทำท่าทางของสัตว์ในอารมณ์ต่าง ๆ โดยมีอลิสบันทึกด้วยกล้องดิจิทัลให้
เด็กไปสำรวจบริเวณโรงเรียน อะไรเป็นสิ่งมีชีวิตและอะไรไม่มีชีวิต วาดภาพพร้อมช่วยกัน Check List
เด็ก ๆ ได้นำตาราง Check list เป็นสิ่งมีชีวิตใช่ไหม? ผลัดกันทีละกลุ่ม สรุปให้เพื่อน ๆ ฟังว่าสิ่งมีชีวิต ไม่มีชีวิตทำอะไรได้บ้าง